ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

What did I really learn on 14 January 2012?

           ในการเรียนในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2555 นี้ ได้ความรู้ใหม่ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ Competency , Workforce Planning , Talent Relationship Management , Job Analysis , Succession Management ซึ่งหัวข้อทั้งหมดนั้นเราสามารถที่จะนำความรู้ใหม่นี้  ไปประยุกต์ใช้กับการทำงานของเราได้อย่างดี ซึ่งผมจะแบ่งความรู้ที่ได้ออกเป็นหัวข้อตามหัวข้อข้างต้น
           
          Competency
         เป็นบุคลิกลักษณะที่ซ่อนอยู่ภายในจิตใจของคนเรา  ที่สามารถผลักดันให้บุคคลนั้น สร้างผลการปฏิบัติงานที่ดีที่สุดในงานที่ตนรับผิดชอบ  การที่บุคคลมีเพียงความฉลาดในการเรียนรู้ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เขาเป็นผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานที่โดดเด่นแต่จำเป็นต้องมีแรงผลักดันเบื้องลึก คุณลักษณะส่วนบุคคล  แนวคิดในตนเองและการแสดงออกที่เหมาะสมจะทำให้เขาเป็นผู้ที่มีผลงานโดดเด่น   โดยขีดความสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
           
       (1).ความสามารถหลัก (Core Competency) คือ บุคลิกลักษณะการแสดงออกของพฤติกรรมของพนักงานทุกคนในองค์การที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) ทัศนคติ (Attributes) ซึ่งมีความสำคัญในการที่จะปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จและมีความโดดเด่นกว่าคนอื่นๆ


           
       ความสามารถหลัก (Core Competency) คือ กิจกรรมใดๆก็ตามที่สามารถนำทรัพยากรอันมีค่าขององค์กรมาสร้างประโยชน์ได้สูงกว่ากิจกรรมอื่นๆที่อยู่ในองค์กรเดียวกันในเชิงเปรียบเทียบ หรือกิจกรรมภายในใดๆก็ตามที่มีความสามารถแข่งขันมากกว่ากิจกรรมอื่นๆ ที่อยู่ในองค์กรเดียวกัน เช่น บริษัทหนึ่งมีกิจกรรมหลายอย่างแต่เมื่อเปรียบเทียบแล้ว กิจกรรมที่มีความโดดเด่นกว่ากิจกรรมอื่น คือ การจัดส่งสินค้าหรือการกระจายสินค้า ดังนั้น ความสามารถหลักขององค์กร (Core Competency) คือ การจัดส่งสินค้านั่นเอง    
            (2).ความสามารถด้านการบริหาร (Managerial Competency) คือ ความรู้ ความสามารถด้านการบริหารจัดการ เป็นขีดความสามารถทีมีได้ทั้งในระดับผู้บริหารและระดับพนักงานโดยจะแตกต่างกันตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ  ซึ่งบุคลากรในองค์กรทุกคนจำเป็นต้องมีในการทำงานเพื่อให้งานสำเร็จ  และต้องสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์  วิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์การ เช่น การวางแผน การบริหารการเปลี่ยนแปลง ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจของการไฟฟ้านครหลวง การคำนึงถึงต้นทุน  การทำงานเป็นทีม การติดต่อสื่อสาร การแก้ปัญหาและตัดสินใจ ภาวะผู้นำ ความคิดสร้างสรรค์ การเสริมสร้างนวัตกรมใหม่  เป็นต้น
            (3).ความสามารถตามตำแหน่งงาน (Functional Competency) คือ ความรู้ ความสามารถในงานซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะและคุณลักษณะเฉพาะของงานต่าง ๆ  เช่น ตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้า ควรต้องมีความรู้ทางด้านวิศวกรรม  นักบัญชี ควรต้องมีความรู้ทางด้านการบัญชี เป็นต้น
            อาจกล่าวได้ว่าขีดความสามารถชนิดเป็นขีดความสามารถเฉพาะบุคคลซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ พฤติกรรม และคุณลักษณะของบุคคลที่เกิดขึ้นจริงตามหน้าที่หรืองานที่รับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย แม้ว่าหน้าที่งานเหมือนกัน ไม่จำเป็นว่าคนที่ปฏิบัติงานในหน้าที่นั้นจะต้องมีความสามารถเหมือนกัน


            Job Analysis
Job Position (ตำแหน่งงาน) 
หมายถึง  การกำหนดของงานและพนักงานในองค์กรให้ได้ตำแหน่งงาน  รูปแบบที่เป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์การชดเชยตามที่กำหนดระดับของงานในองค์กรตัวอย่าง  เช่น  พนักงานระดับบริหารจะได้รับค่าจ้างสูงกว่าพนักงานที่ไม่ใช่ผู้บริหาร ผลประโยชน์ที่ไม่ใช่การเงินให้แก่สองระดับที่แตกต่างกันในองค์กรที่ยังแตกต่างกัน
            
          Job Description (รายละเอียดงาน) 
            หมายถึง  ความต้องการขององค์กรที่จะมองหาตำแหน่งงานที่เฉพาะเจาะจง  นอกจากนี้ยังอธิบายถึงบทบาทและความรับผิดชอบที่แนบมากับตำแหน่งงาน บทบาทและความรับผิดชอบเป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัยในการประเมินระดับของประสบการณ์การศึกษาทักษะ ฯลฯ จำเป็นสำหรับงาน นอกจากนี้ยังช่วยในการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานที่มาตรฐานงาน
            Job Worth
            หมายถึง  การประเมินความคุ้มค่านั่นคืองานเท่าใดงานที่ก่อให้เกิดองค์กรที่เป็นที่รู้จักกันว่าการประเมินผลงาน รายละเอียดงานใช้ในการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของงาน เป็นที่รู้จักกันว่าการประเมินผลงาน บทบาทและความรับผิดชอบจะช่วยในการกำหนดผลลัพธ์ที่ได้จากรายละเอียดของงาน      
          การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) หมายถึง กระบวนการในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงาน ทั้งในแง่ของลักษณะงาน หน้าที่ ความรับผิดชอบ ชนิดของบุคคล ความรู้ ความสามารถ และทักษะที่ต้องการสำหรับงานเพื่อให้การปฏิบัติงานนั้นๆ บรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยจะออกมาในรูปของการบรรยายลักษณะงาน job descriptions และการกำหนดคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงาน job specifications
           ความสำคัญของการวิเคราะห์งาน
               (1). การวิเคราะห์งานเป็นหน้าที่พื้นฐานสำหรับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับนำไปใช้ในกระบวนการบริหารและการแก้ปัญหางาน พนักงานแต่ละคนจะต้องทราบว่าหน่วยงานที่ตนสังกัดมีภารกิจและขอบเขตอย่างไร จะต้องทราบว่าตนเองมีหน้าที่การงานอย่างไร เพื่อปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน
               (2). การวิเคราะห์งานทำให้ผู้ดำรงตำแหน่งและผู้บังคับบัญชารู้ชัดในหน้าที่ที่มอบหมายให้ทำ เป็นเครื่องมือช่วยในการควบคุมงานให้บรรลุผลสำเร็จและช่วยประสานงานให้ดำเนินไปได้ด้วยดี


            Workforce Planning
            การวางแผนกำลังคน คือ การวางกลยุทธ์ด้านกำลังคนให้สอดคล้องกับทิศทางธุรกิจขององค์กร โดยการวิเคราะห์สภาพกำลังคนขององค์กรที่มีอยู่ในปัจจุบัน เปรียบเทียบกับความต้องการกำลังคนในอนาคตว่ามีส่วนต่างของความต้องการอย่างไร เพื่อที่จะพัฒนาหรือวางแผนดำเนินการให้องค์กรบรรลุภารกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่วางไว้

 

“Having the right people with the
right skills doing the right jobs at the right time”







          ความสำคัญและประโยชน์ของการวางแผนกำลังคน
            (1). เพื่อที่จะใช้กำลังคนให้สอดคล้องกับภารกิจเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด
            (2). เพื่อที่จะเตรียมกำลังคนทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลาในอนาคต
            (3). เป็นเครื่องมือที่จะช่วยในการตัดสินใจในการบริหารทรัพยากรบุคคล
            (4). ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้สูงสุด (right people, right skills, right jobs, right time)
            (5). สร้างความเชื่อมโยงระหว่างการจัดการทรัพยากรบุคคล และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของหน่วยงาน
          (6). ช่วยให้หน่วยงานสามารถจัดจำนวน ประเภท และระดับทักษะของกำลังคนให้เหมาะสมกับงานในระยะเวลาที่เหมาะสม
          (7).ทำให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ



             Talent Relationship Management
             Talent หมายถึงบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ มีผลงานที่โดดเด่นเหนือบุคคลอื่น
ซึ่งอาจมีลักษณะที่  แตกต่างกันไปในแต่ละองค์กร โดยขึ้นอยู่กับลักษณะงาน  ลักษณะธุรกิจนโยบาย  วัฒนธรรมองค์กร และกลยุทธ์ขององค์กรว่าต้องการเดินไปในทิศทางใด
            ลักษณะทั่วไปของ Talent หรือมีศักยภาพสูง คือ
            1. มีความสามารถ และมีคุณสมบัติในการนำตัวเองไปสู่ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น
            2. สามารถแก้ปัญหาได้ดี วางแผนป้องกันปัญหาได้
            3. เรียนรู้ได้รวดเร็ว
            4. มีความกระตือรือร้น
            5. มีความคิดสร้างสรรค์
            6. มีความเป็นผู้นำ
            7. มีวิสัยทัศน์
            8. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ทั้งภายในได้แก่ เพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา
            รวมถึงการประสานงานกับภายนอก ได้แก่ ลูกค้า คู่ค้า เป็นต้นความสามารถของบุคคลเหล่านี้ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร และบุคคลเหล่นี้จะถูกคาดหวังให้เป็นผู้นำ หรือผู้บริหารระดับสูงขององค์กรในอนาคตการจัดการกับคนเหล่านี้ถือเป็นส่วนสำคัญในการจัดการทุนมนุษย์ (Human Capital Management) ซึ่งเป็นการรักษาประสิทธิภาพขององค์กร   ลดอัตราสูญเสียบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์ และยังนำมาซึ่งความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน
           
          กระบวนการจัดการ Talent
            1. การสรรหา Talent
            2. การคัดเลือกหรือระบุ Talent ขององค์กร
            3. การพัฒนา Talent
            4. การบริหารและจูงใจ Talent
            5. การรักษาคนเก่งไว้ในองค์กร
           
            การสรรหา Talent
            ในกระบวนการสรรหา Talent นั้น ถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งจนบางบริษัทเช่น Microsoft ต้องตั้งทีมสรรหา Talent ไว้เป็นการเฉพาะเพื่อเพิ่มศักยภาพของการแข่งขัน  โดยการไปสัมภาษณ์และรับนักศึกษา ในมหาวิทยาลัยที่กำลังใกล้จบ ในการสรรหาคนเก่งนั้น  มีขั้นตอนดังนี้
            1. กำหนดคุณสมบัติของบุคคลที่องค์กรอยากได้
            2. กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่อยากได้
            3. หาแหล่งเป้าหมายที่จะเข้าถึงคนเหล่านี้

          การพัฒนา Talent
            เมื่อระบุได้แล้วว่าใครคือ Talent กระบวนการถัดมาคือ การส่งเสริมคนเก่งให้เป็นคนเก่งยิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของตัวคนเก่งเอง และองค์กรโดยรูปแบบการพัฒนาคนเก่งก็เหมือนกับการพัฒนาบุคคลทั่วไปในองค์กร คือ
            1. Training need survey โดยดูจากความต้องการของหน่วยงานและความต้องการของบุคคล
            2. On the job training โดยกำหนดขีดความต้องการของบุคคลที่มาปฏิบัติในหน้าที่ของหน่วยงาน และกำหนดกระบวนการวัดผล ไม่ว่าจะในรูปแบบข้อเขียน หรือ ปฏิบัติ
            3. Off the job training หรือการอบรมนอกงาน ไม่ว่าจะเป็นการเข้ารับการอบรมพิเศษ Special training หรือการใช้สถานการณ์จำลองและกรณีศึกษา
           
          การบริหารและจูงใจ Talent
            สิ่งที่ผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 3 ส่วน ได้แก่
            1. ภาพลักษณ์บริษัทที่ดี
            2. ลักษณะงานที่ดี
            3. ค่าตอบแทนและรูปแบบการดำเนินชีวิต

          การรักษา Talent ไว้ในองค์กร
            ต้องเปลี่ยนจากการพยายามเก็บเอาไว้อย่างเดียวมาเป็นการควบคุมทิศทาง ด้วยความยืดหยุ่นสูงเพื่อเปิดโอกาสให้เขาใช้ศักยภาพให้เกิดผลกับองค์กรให้มากที่สุด

            การกำหนกกระบวนการการจัดการความสามารถ
            องค์กรที่มีการสร้างขึ้นจากคนคนสร้างมูลค่าผ่านกระบวนการทางธุรกิจที่พิสูจน์นวัตกรรมการบริการลูกค้า, การขาย, และอีกหลายกิจกรรมที่สำคัญอื่น ๆ ในฐานะที่เป็นองค์กรที่มุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจของมันก็ต้องให้แน่ใจว่ามันมีกระบวนการที่ต่อเนื่องและบูรณาการเพื่อการสรรหาการฝึกอบรมการจัดการสนับสนุนและชดเชยคนเหล่านี้ แผนภูมิต่อไปนี้จะแสดงกระบวนการเสร็จสมบูรณ์ 
            (1). การวางแผนกำลังคน   แบบบูรณาการกับแผนธุรกิจของกระบวนการนี้กำหนดแผนการทำงานและแผนการจ้างงาน, การชดเชยงบประมาณและเป้าหมายการจ้างงานสำหรับปี
            (2). การสรรหา ผ่านกระบวนการบูรณาการจากการสรรหาการประเมินการประเมินผลและการจ้างงานทางธุรกิจที่ทำให้คนในองค์กร
            (3). Onboarding องค์กรจะต้องฝึกอบรมและช่วยให้พนักงานที่จะกลายเป็น Talent อย่างมีประสิทธิภาพ
            (4). Performance Management การบริหารจัดการประสิทธิภาพการทำงาน โดยใช้แผนธุรกิจองค์กรกำหนดกระบวนการในการวัดและจัดการพนักงาน 
            (5). Training & Performance Support การฝึกอบรมและการสนับสนุนประสิทธิภาพการทำงาน 
            (6). Succession Planning การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง การวางแผนการสืบทอดการทำงานที่สำคัญมากช่วยให้ผู้จัดการและบุคคลที่จะระบุตัวตนของผู้สมัครที่เหมาะสมสำหรับตำแหน่ง 
            (7). Compensation & Benefits ค่าตอบแทนและประโยชน์ที่ได้รับ   
            (8). Critical Skills Gap Analysis ที่สำคัญการวิเคราะห์ Gap ทักษะการ นี้เป็นกระบวนการที่เราระบุเป็นสำคัญการทำงานมักจะมองข้ามในหลายอุตสาหกรรมและองค์กรต่างๆ ในขณะที่มักจะทำบนพื้นฐานของโครงการที่จะสามารถ"ทางธุรกิจที่สำคัญ

            Succession Planning
                การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง  หมายถึง การเฟ้นหาบุคคลภายในองค์กรที่เป็น ดาวเด่น” (Talent) ที่สามารถสร้างผลงานที่ ดีเลิศตามที่ องค์กรคาดหวัง เพื่อให้ดำรงตำแหน่งหนึ่งๆ ทันทีที่ตำแหน่งนั้นๆ ว่างลง โดยทั่วไปองค์กรจะเตรียมดาวเด่นจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คนไว้สำหรับรองรับหนึ่งตำแหน่งโดย ดาวเด่นดังกล่าวมีความเหมาะสมทั้งในด้านวัยวุฒิและคุณวุฒิ  รวมทั้งมีความพร้อมที่จะดำรงตำแหน่งหนึ่งๆ ที่ว่างลงในทันทีตามที่องค์กรกำหนด อย่างไรก็ตาม ในที่ สุดองค์กรจะคัดเลือกทายาทให้เหลือเพียง 1 คน ด้วยเกณฑ์การ คัดเลือกขององค์กร เพื่อให้ผู้ที่ พร้อมและเหมาะสมมากที่ สุดเป็นผู้สืบทอดตำแหน่ง (Successor) ซึ่งถือเป็นการมอบหมายงานที่สำคัญขององค์กรให้แก่ผู้ที่เหมาะสมในเวลาอันควร (Put the right person on the right job at the right time) เพื่อให้งานในความรับผิดชอบของตำแหน่ง ดังกล่าวมีความต่อเนื่อง โดยไม่เกิดการสะดุดไม่ว่ากรณีใดๆ

            
             การคัดเลือกว่าที่ผู้สืบทอดตำแหน่ง (Candidate) เพื่อมาเข้าร่วมในโครงการพัฒนาผู้สืบทอดตำแหน่ง (Successor Development Project) นั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าการคัดเลือกบุคลากรเข้ามาทำงานในองค์กร เพราะความผิดพลาดของการคัดเลือกคนนอกเข้ามาทำงานเรายังมีช่วงทดลองงานเพื่อให้ตัดสินใจดูว่าจะจ้างเขาต่อไปหรือไม่ แต่การคัดเลือกคนในนี้ ถ้าคัดเลือกมาผิดเมื่อไหร่ เราไม่สามารถบอกเลิกเขากลางทางระหว่างดำเนินโครงการได้ ดังนั้น จึงอยากจะให้องค์กรต่างๆให้ความสำคัญกับกระบวนการในการคัดเลือกว่าที่ผู้สืบทอดตำแหน่งให้มากยิ่งขึ้น จะได้ไม่เสียใจและเสียดายในภายหลัง
           
             ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดนั้นผมคิดว่าจะมีประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน  ในการบริหารงาน  ซึ่งในปัจจุบันมีสภาวะการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบของการทำงาน  การบริหารงานที่เปลี่ยนแปลงไป  ซึ่งนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เราได้เข้าใจรูปแบบและวิธีการในการปรับปรุงการทำงาน  และสภาวะการบริหารงานของผู้บริหารในแต่ละองค์กร  เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์กร  และการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารของพนักงานในองค์กร  เพื่อที่จะหาจุดสมดุลที่สุดของการทำงานนั่นเอง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น