กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (The Civil and Commercial Code) (s.1 – s.1755)
กฎหมายแพ่ง คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล เช่น เรื่องสภาพบุคคล ทรัพย์ หนี้ นิติกรรม ครอบครัว และมรดก เป็นต้น การกระทำผิดทางแพ่ง ถือว่าเป็นการละเมิดต่อบุคคลที่เสียหายโดยเฉพาะไม่ทำให้ประชาชนทั่วไปเดือดร้อนอย่างการกระทำผิดอาญา
กฎหมายพาณิชย์ คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเศรษฐกิจและการค้า โดยวางระเบียบเกี่ยวพันทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น การตั้งหุ้นส่วนบริษัท การประกอบการรับขน และเรื่องเกี่ยวกับตั๋วเงิน (เช่น เช็ค) กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจำนอง การจำนำ เป็นต้น
ในปัจจุบันกฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ของประเทศไทย ได้บัญญัติรวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน เรียกชื่อว่า "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" แบ่งออกเป็น 6 บรรพ
อาจารย์ได้แบ่งกฎหมายออกเป็น 6 บรรพ คือ
(1).General Principle (ว่าด้วยหลักทั่วไป)
(2).Obligation (ว่าด้วยความเป็นหนี้)
(3).Specific Contract (ว่าด้วยเอกเทศสัญญา)
(4).Property (ว่าด้วยเรื่องทรัพย์สิน)
(5).Family (ว่าด้วยเรื่องของครอบครัว)
(6).Succession (ว่าด้วยยมรดก)
เหตุที่ประเทศไทยมีการจัดทำประมวลกฎหมายโดยการนำเอากฎหมายแพ่งมารวมกับกฎหมายพาณิชย์เป็นฉบับเดียวคล้ายกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยไม่ได้แยกเป็นประมวลกฎหมายแพ่งเล่มหนึ่งและประมวลกฎหมายพาณิชย์อีกเล่มหนึ่งดังเช่นประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เพราะการค้าพาณิชย์ในขณะที่ร่างกฎหมายยังไม่เจริญก้าวหน้า อีกทั้ง หลักทั่วไปบางอย่างในกฎหมายแพ่งก็สามารถนำไปใช้กับกฎหมายพาณิชย์ได้ ความจำเป็นที่จะต้องแยกกฎหมายพาณิชย์ออกจากกฎหมายแพ่งโดยจัดทำเป็นประมวลกฎหมายคนละเล่มกันจึงยังไม่มีความจำเป็นเท่าใดนักในขณะนั้น
นอกจากนี้อาจารย์ยังได้พูดถึงคำศัพท์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โดยผมจะแบ่งออกเป็น 6 บรรพ ดังต่อไปนี้
(1).General Principle (ว่าด้วยหลักทั่วไป)
สัญญา สาระสำคัญของสัญญา มีด้วยกัน 3 ประการ คือ
(1). ต้องมีบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป
(2). ต้องมีการแสดงเจตนาต้องตรงกัน คือ
“คำเสนอ” คือ เป็นคำแสดงเจตนาขอทำสัญญา คำเสนอต้องมีความชัดเจน แน่นอน ถ้าไม่มีความชัดเจน ไม่มีความแน่นอน จะเป็นแค่พียง “คำเชิญชวน”
“คำสนอง” คือ การแสดงเจตนาของผู้สนองต่อผู้เสนอ ตกลงรับทำสัญญาตามคำเสนอ คำสนองต้องมีความชัดเจน แน่นอน ปราศจากข้อแก้ไข ข้อจำกัด หรือข้อเพิ่มเติมใดๆ
(3). จะต้องมีวัตถุประสงค์ในการทำสัญญา
ประเภทของสัญญา
(1).สัญญาและสัญญาไม่ต่างตอบแทน
สัญญาต่างตอบแทน คือ สัญญาที่ทำให้คู่สัญญาต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกัน
และกัน ในมาตราที่ 369
สัญญาไม่ต่างตอบแทน คือ สัญญาที่ก่อหนี้ฝ่ายเดียว เช่น สัญญายืม
(2).สัญญามีค่าตอบแทนและสัญญาไม่มีค่าตอบแทน
(3).สัญญาประธานและสัญญาอุปกรณ์
สัญญาประธาน คือ สัญญาที่เกิดขึ้นและเป็นได้อยู่โดยลำพัง ไม่ขึ้นอยู่กับสัญญาอื่นๆ สัญญาอุปกรณ์ คือ สัญญาอุปกรณ์จะต้องสมบูรณ์ตามหลักความสมบูรณ์ของตัวเองแล้วจะต้องขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของสัญญาประธานอีกด้วย
(4). สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก
(5).เอกเทศสัญญาตาม ป.พ.พ.บรรพ 3 กับสัญญาไม่มีชื่อ
(2).Obligation (ว่าด้วยความเป็นหนี้)
จัดการงานนอกสั่ง คือ การที่บุคคลใดเข้าทำหน้าที่แทนผู้อื่น โดยเขามิได้วานใช้ให้ทำ หรือไม่มีสิทธิที่จะทำการงานนั้น แทนผู้อื่นด้วยประการใดก็ตาม
ถ้าการเข้าจัดการงานนั้น ขัดความประสงค์ของเขา ผู้เข้าจัดการไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายใดๆได้ และถ้าเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของบุคคลอื่นแล้ว ก็ต้องชดใช้ให้กับเขาด้วย
ลาภมิควรได้ คือ กรณีที่บุคลได้ได้มาซึ่งทรัพย์สิน เพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่งกระทำเพื่อชำระหนี้ก็ดี หรือได้มาด้วยประการอื่นก็ดี โดยปราศจากมูลหนี้อันที่จะอ้างกฎหมายใด และการได้มาทำให้อีกบุคคลหนึ่งเสียเปรียบ สิ่งที่ได้มานั้นจึงจัดเป็นลาภมิควรได้ จะต้องคืนให้ผู้มีสิทธิไป
ละเมิด มีองค์ประกอบสำคัญดังนี้ คือ
(1). เป็นการกระทำต่อบุคคลอื่นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
(2). เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
(3). การกระทำนั้นเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหาย
การยอมให้บุคคลอื่นกระทำต่อตนด้วยความสมัครใจกล่าวคือ ปราศจากคำข่มขู่ กลฉ้อฉลหรือคำสำคัญผิดหรือความยินยอมที่ให้นี้จะต้องมีอยู่ตลอดเวลาในขณะที่ทำละเมิดด้วย
(3).Specific Contract (ว่าด้วยเอกเทศสัญญา)
สัญญาจ้างแรงงาน
สัญญาจ้างแรงงาน คือ สัญญาซึ่งลูกจ้างตกลงทำงานให้แก่นายจ้าง และนายจ้างตกลงให้สินจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้
สัญญาจ้างแรงงาน คือ สัญญาซึ่งลูกจ้างตกลงทำงานให้แก่นายจ้าง และนายจ้างตกลงให้สินจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้
ลักษณะสำคัญของสัญญาจ้างแรงงาน
1. เป็นสัญญาระหว่างบุคคลสองฝ่าย คือลูกจ้างและนายจ้าง วัตถุประสงค์ของการจ้างชอบด้วยกฏหมาย
2. เป็นสัญญาต่างตอบแทนและมีค่าตอบแทน กล่าวคือ ลูกจ้างมีหน้าที่ต้องทำงานให้แก่นายจ้าง และนายจ้างมีหน้าที่จ่ายสินจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้
3. วัตถุประสงค์แห่งสัญญาคือ การทำงานของลูกจ้าง
4. ไม่มีแบบแห่งสัญญา กล่าวคือกฏหมายไม่ได้กำหนดแบบแห่งสัญญาไว้ จะแสดงเจตนาตกลงกันด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรก็ได้
5. เป็นสัญญาเฉพาะตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญา
สิทธิและหน้าที่ของลูกจ้าง
สิทธิของลูกจ้าง
1. ลูกจ้างมีสิทธิได้รับสินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้แก่นายจ้าง
2. ลูกจ้างมีสิทธิให้บุคคลภายนอกทำงานแทนตนได้ เมื่อนายจ้างยินยอมพร้อมใจด้วย
3. ลูกจ้างมีสิทธิได้รับใบสำคัญแสดงการผ่านงาน
4. ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าเดินทางขากลับจากนายจ้างในกรณีนายจ้าง จ้างลูกจ้างมาจากต่างถิ่นโดยนายจ้างออกเงินค่าเดินทางมาทำงานให้
5. ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ในกรณีไม่มีเวลาการจ้างแน่นอน ด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่งเพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากัน แต่ไม่จำเป็นต้องบอกล่วงหน้ากว่าสามเดือน
หน้าที่ของลูกจ้าง
1. ลูกจ้างต้องทำงานให้แก่นายจ้างตามที่ตกลงไว้ในสัญญาจ้างแรงงาน
2. ลูกจ้างต้องทำงานตามความสามารถที่ตนได้รับรองโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยายว่าตนเป็นผู้มีฝีมือเช่นนั้น
3. ลูกจ้างต้องทำงานตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง
4. ลูกจ้างต้องไม่จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง
5. ลูกจ้างต้องไม่ละเลยต่อคำสั่งของนายจ้างเป็นประจำ
6. ลูกจ้างต้องไม่ใจละทิ้งงานไปเสียโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร
7. ลูกจ้างต้องไม่กระทำผิดอย่างร้ายแรง
8. ลูกจ้างต้องไม่ทำประการอื่นอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต
1. เป็นสัญญาระหว่างบุคคลสองฝ่าย คือลูกจ้างและนายจ้าง วัตถุประสงค์ของการจ้างชอบด้วยกฏหมาย
2. เป็นสัญญาต่างตอบแทนและมีค่าตอบแทน กล่าวคือ ลูกจ้างมีหน้าที่ต้องทำงานให้แก่นายจ้าง และนายจ้างมีหน้าที่จ่ายสินจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้
3. วัตถุประสงค์แห่งสัญญาคือ การทำงานของลูกจ้าง
4. ไม่มีแบบแห่งสัญญา กล่าวคือกฏหมายไม่ได้กำหนดแบบแห่งสัญญาไว้ จะแสดงเจตนาตกลงกันด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรก็ได้
5. เป็นสัญญาเฉพาะตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญา
สิทธิและหน้าที่ของลูกจ้าง
สิทธิของลูกจ้าง
1. ลูกจ้างมีสิทธิได้รับสินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้แก่นายจ้าง
2. ลูกจ้างมีสิทธิให้บุคคลภายนอกทำงานแทนตนได้ เมื่อนายจ้างยินยอมพร้อมใจด้วย
3. ลูกจ้างมีสิทธิได้รับใบสำคัญแสดงการผ่านงาน
4. ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าเดินทางขากลับจากนายจ้างในกรณีนายจ้าง จ้างลูกจ้างมาจากต่างถิ่นโดยนายจ้างออกเงินค่าเดินทางมาทำงานให้
5. ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ในกรณีไม่มีเวลาการจ้างแน่นอน ด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่งเพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากัน แต่ไม่จำเป็นต้องบอกล่วงหน้ากว่าสามเดือน
หน้าที่ของลูกจ้าง
1. ลูกจ้างต้องทำงานให้แก่นายจ้างตามที่ตกลงไว้ในสัญญาจ้างแรงงาน
2. ลูกจ้างต้องทำงานตามความสามารถที่ตนได้รับรองโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยายว่าตนเป็นผู้มีฝีมือเช่นนั้น
3. ลูกจ้างต้องทำงานตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง
4. ลูกจ้างต้องไม่จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง
5. ลูกจ้างต้องไม่ละเลยต่อคำสั่งของนายจ้างเป็นประจำ
6. ลูกจ้างต้องไม่ใจละทิ้งงานไปเสียโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร
7. ลูกจ้างต้องไม่กระทำผิดอย่างร้ายแรง
8. ลูกจ้างต้องไม่ทำประการอื่นอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต
ตัวอย่างสัญญาจ้างพนักงานทดลองงาน
เขียนที่ ……………………..……………
วันที่ ……… เดือน ……………………. พ.ศ .……...
ระหว่างบริษัท ………………………..………… จำกัด ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า ''นายจ้าง” ฝ่ายหนึ่ง และนาย/นาง /นางสาว ………………………………. ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า “ลูกจ้าง” ฝ่ายหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงตามสัญญาจ้างทดลองงานฉบับนี้ไว้ดังนี้
1. กำหนดระยะเวลาการจ้างทดลองงานตั้งแต่วันที่ ……… เดือน ……………….. พ.ศ ………….ถึงวันที่ ……… เดือน …………………….. พ.ศ …………. ทดลองงานทั้งสิ้น 120 วัน
2. กำหนดอัตราค่าจ้างดังนี้
2.1 ภายใน 60 วันแรก ได้รับค่าจ้างวันละ …………….…… บาท
2.2 หลังจาก 60 วันไป แล้ว ได้รับค่าจ้างวันละ ……………… บาท
3. ในช่วงระยะเวลาการทดลองงาน หากบริษัทพิจารณาว่าท่านขาดคุณสมบัติที่เหมาะสมในการเป็นหัวหน้างาน บริษัทสามารถบอกเลิกสัญญาจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าในกรณีดังนี้
3.1 คุณสมบัติไม่เหมาะสม ฯ
3.2 ความประพฤติไม่ดี
3.3 ขาความรู้ความสามารถในการทำงาน ฯลฯ
4. เมื่อครบกำหนดเวลาทดลองงาน หากลูกจ้างเป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม นายจ้างจะพิจารณาเป็นลูกจ้างต่อไป
สัญญานี้ทำขึ้นโดยทั้งสองฝ่ายต่างอ่านและเข้าใจข้อความในสัญญานี้ โดยถูกต้องครบถ้วนแล้ว จึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
ลงชื่อ ………………………………………….. นายจ้าง
( …………………………………………………. )
ลงชื่อ ………………………………………….. ลูกจ้าง
( …………………………………………………. )
กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
กฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายที่จำกัดหลักเสรีภาพในการทำสัญญาหรือหลักความศักดิ์สิทธิ์ในการแสดงเจตนา หมายความว่ากฎหมายคุ้มครองแรงงานหาได้ยกเลิกหลักความศักดิ์สิทธิ์ในการแสดงเจตนาหรือหลักเสรีภาพในการทำสัญญาในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยสิ้นเชิงไม่ หากแต่จำกัดหลักดังกล่าวให้แคบลงเท่านั้น คือจะแสดงเจตนาทำนิติกรรมใด ๆ ให้มีมาตรฐานต่ำกว่าที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานบัญญัติไว้ไม่ได้ แต่ในทางตรงข้าม นายจ้างลูกจ้างยังคงมีเสรีภาพเต็มที่ในการทำสัญญาตราบเท่าที่สัญญานั้นไม่ขัดต่อบทบัญญัติในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน กล่าวอีกนัยหนึ่งถ้านายจ้างลูกจ้างแสดงเจตนาทำสัญญาได้สูงกว่ามาตรฐานขั้นต่ำที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานบัญญัติไว้ สัญญานั้นใช้บังคับได้และไม่ให้นำกฎหมายแรงงานมาบังคับใช้
กฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน นิติกรรมใดที่ทำขึ้นขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของกฎหมายคุ้มครองแรงงานย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 หรือแตกต่างจากที่บัญญัติไว้ก็ตกเป็นโมฆะเช่นเดียวกัน
กฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน นิติกรรมใดที่ทำขึ้นขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของกฎหมายคุ้มครองแรงงานย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 หรือแตกต่างจากที่บัญญัติไว้ก็ตกเป็นโมฆะเช่นเดียวกัน
หลักการของกฎหมายธุรกิจ
ประกอบไปด้วยหลักการต่างๆทั้ง 15 ประการดังนี้คือ
(1).ความตกลงทำให้เกิดสัญญา (Freedom of Contract)
(2).สัญญาต้องเป็นสัญญา (ความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนา) (Agreements of the parties must be observed)
(3).คนที่มาหาความยุติธรรมต้องมาด้วยมือที่บริสุทธิ์ (Those who come to equity must come with clean hands)
(4).จะทำสัญญายกเว้นความรับผิดอันเกิดจากการฉ้อฉลมิได้ (No contract can require fraud shall create no liability)
(5).ในกรณีที่ความเป็นธรรมที่เท่ากัน บุคคลที่มาก่อนย่อมมีสิทธิดีกว่า (Where the equities are otherwise equal the earlier in time has)
(6).สิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินนั้น ไม่อาจใช้ยันผู้ซื้อโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน (Claims in equity will never be valid against a bona fide purchaser for value)
(7).ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน (He who has not, cannot give)
(8).ผู้รับโอนย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับผู้โอน (An assignee is clothed with right of his principal)
(9).ข้อยกเว้นและจำกัดความรับผิดนั้นต้องตีความให้เป็นผลร้ายแก่ผู้ที่อ้างข้อยกเว้น (Exemption clauses are sirictly construed against parties who rely on them)
(10).ภัยพิบัติที่เกิดแกทรัพย์ย่อมตกเป็นทรัพย์แก่เจ้าของความสูญเสีย (the loss falls on the owned)
(11).ความยินยอมไม่เป็นละเมิด (That to which a mans consents cannot be considered an injury)
(12).สัญญาไม่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมาย (A contract cannot arise out of an illegal act)
(13).พึงฟังความทั้งสองฝ่าย (Here both sides)
(14).ความจำเป็นสาธารณะสำคัญกว่าความจำเป็นเอกชน (Public necessity is greater than private)
(15).การไร้ความสามารถเป็นข้อแก้ตัวได้ตามกฎหมาย (Inability is an excuse in law)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น