ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

Core competency และ Function competency ของ บริษัท Expeditors

Core competency และ Function competency ของ บริษัท  Expeditors

            Core Competency คือ ความรู้สั่งสมที่ได้จากการเรียนรู้ในองค์การ โดยเฉพาะในเรื่องของการจัดการ และสร้างความแตกต่างหลากหลายให้แก่ผลิตภัณฑ์ ทักษะ และการบูรณาการให้เกิดความหลากหลายทางเทคโนโลยี
            ความสามารถหลักขององค์การสามารถมีได้ในหลายลักษณะ เช่น ความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ความสามารถในการผลิต ความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป ความสามารถในการเป็นผู้นำด้านต้นทุน เป็นต้น 

            Core competency ของ บริษัท  Expeditors
              Expeditors นั้นจะเน้นการที่มีพนักงานที่มีความรู้และมีการบริการที่ดีเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจอย่างสูงสุด ซึ่งสามารถที่จะแบ่ง Core competency ของบริษัทได้ดังนี้
            


         (1). Appearance
            ความเป็นมืออาชีพอยู่ที่หลักของตัวตนของเรา ลักษณะของผู้คนและสิ่งอำนวยความสะดวกของเรามีส่วนช่วยให้ตัวนี้โดยสายตาที่แสดงให้เห็นว่าเราเป็นใครและสิ่งที่เราทุกคน
            








         (2).Curiosity
            เป็นประเภทของบุคคลที่ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่าง มีจำหน่ายเพื่อสอบถามการตรวจสอบหรือแสวงหาความรู้ คุณควรจะมีความปรารถนาที่จะทำให้ถูกใจใจกับข้อมูลใหม่หรือวัตถุที่น่าสนใจ
            








         (3).Confidence
            เราต้องเชื่อว่าเพื่อให้บรรลุไม่เพียงเฉพาะในตัวเอง แต่ยังอยู่ในเพื่อนร่วมงานของเรา โดยไม่ไว้วางใจ Self-assurance และการพึ่งพิงความเชื่อมั่นของเราทำให้เราเครือข่ายของเราจะไม่ทำงาน
            









         (4).Excellence
            การทำเช่นนี้ไม่เพียง แต่สิ่งที่คาดหวัง แต่การทำที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ที่ร่างกาย






            


         (5).Pride
            มันเป็นความมุ่งมั่นส่วนบุคคลที่เราให้ตระหนักถึงศักยภาพอย่างเต็มรูปแบบของเราและความนับถือตนเองความมั่นใจและความสุขที่เราได้รับจากการมีงานทำเสร็จสมบูรณ์เป็นอย่างดี

         








         (6).Visionary
            มีความเข้าใจในการเข้าใจความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของลูกค้าผู้ให้บริการของเราและองค์กร ความเข้าใจเป้าหมายของผู้ที่เราและที่เราจะไม่คำนึงถึงสิ่งที่คนอื่น

            








         (7).Attitude
            มีความเข้าใจในการเข้าใจความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของลูกค้าผู้ให้บริการของเราและองค์กร ความเข้าใจเป้าหมายของผู้ที่เราและที่เราจะไม่คำนึงถึงสิ่งที่คนอื่นอาจจะคิดว่า




            


(8).Sense of Humor
            ชีวิตสั้นเกินไปที่จะไม่สนุกกับการทำงานที่เราทำและคนที่ร่วมงานกับเรา ในขณะที่ไม่เคยลืมธรรมชาติที่รุนแรงของธุรกิจที่เราไม่เคยใช้ตัวเองอย่างจริงจังเกินไปเพราะกลัวว่าเราจะหยุดการฟังและการเรียนรู้

            








(9).Integrity
            ความเป็นธรรมซื่อสัตย์สุจริตและมีศักดิ์ศรีที่เป็นหัวใจของความสัมพันธ์ที่ประสบความสำเร็จเราสนุกกับลูกค้าผู้ให้บริการของเราและอีกคนหนึ่ง

            






(10).Resolute
            พูดในสิ่งที่คุณทำและทำสิ่งที่คุณพูด  ยินดีที่จะใช้ความเสี่ยงและข้อผิดพลาดที่ไม่กลัวของมันการกำหนดความจงรักภักดีของความแน่นและความเป็นธรรมที่ทำให้เรามีความแข็งแรงของเราจะประสบความสำเร็จในวันนี้เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว, การแข่งขันสูงสิ่งที่คุณทำเพื่อสิ่งแวดล้อม

           
           


Function competency ของ บริษัท Expeditors
            ที่ Expeditors วัฒนธรรมขององค์กรเป็นเรื่องเกี่ยวกับเกินความคาดหวังของลูกค้าและให้บริการสถานที่สำหรับพนักงานของเราที่จะทำให้อาชีพ มันเป็นที่เห็นได้ชัดว่าคนของเราเพียงแค่ดูแลมากขึ้น พวกเขาย้ายได้เร็วขึ้นทำงานหนักและจะได้รับรางวัลดีกว่าการแข่งขันของเรา สำนักงานของเราเรียบร้อยการจัดระเบียบและการตั้งค่าให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพของเรา มันเป็นปรัชญาง่ายๆที่ทำงาน เราจะทำทุกสิ่งที่เราสามารถที่จะปกป้องวัฒนธรรมขององค์กร
            Expeditors สมรรถนะของพนักงานแต่ละสายงานของ Expeditors นั้นสามารถที่จะแบ่งออกเป็นข้อได้ดังต่อไปนี้
            (1). Expeditors'เป็นพันธมิตรกับลูกค้าของเราเพื่อให้โซลูชั่นที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของลูกค้า
            (2).ความแตกต่างสามารถทำได้เมื่อมีกิจกรรมจะดำเนินการในวิธีที่สร้างมูลค่าซื้อมากกว่าการแข่งขันจึงมีการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์
            (3). outsource กิจกรรมที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักให้กับสมาชิกอื่น ๆ ของห่วงโซ่คุณค่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตภายในห่วงโซ่มูลค่า กำหนดทรัพยากรที่จะดูแลกิจกรรมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของห่วงโซ่อุปทาน
            (4).บริษัทได้เปรียบค่าใช้จ่ายและความแตกต่าง ฟังก์ชั่นเปรียบค่าใช้จ่ายเป็นวิธีการให้ค่าเทียบเท่ากับผู้ซื้ออย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการแข่งขัน องค์กรบรรลุเปรียบค่าใช้จ่ายที่ได้รับการประสบความสำเร็จในการลดต้นทุนของกิจกรรมห่วงโซ่คุณค่าของแต่ละบุคคล 



What did I learn on youtube? # 5


           ทำไมองค์กรจึงจะต้องมีการวางแผนกำลังคน  ก็เพราะว่าการวางแผนกำลังคนนั้น  สามารถที่จะช่วยในเรื่องของการหาข้อได้เปรียบของแข่งขันในสภาพปัจจุบัน  โดยการทำองค์กรของเราจะต้องมองภายในองค์กรของเราเองเสียก่อน ก่อนที่จะประสบกับความสำเร็จ
            ส่วนในเรื่องของกำลังคนหรือการจัดกำลังคนของพนักงานในองค์กรนั้น  ก็มีประโยชน์ต่างๆกับองค์กร
ไม่ว่าจะเป็น
            (1).เพิ่มขีดความสามารถในการผลิตภายในองค์กร
            องค์กรสามารถที่จะทำได้หลากหลายวิธี  เช่น บริษัทแห่งหนึ่งมีตารางเวลาในการทำงาน อยู่ที่ 1,820  ชั่วโมงต่อปี  แต่องค์กรก็ได้ลดเวลาในการทำงานลงไป 30 นาทีต่อสัปดาห์ ซึ่งมีผลให้สามารถลดชั่วโมงในการทำงานลงเหลือ 910 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งองค์กรเองก็จะเหลือเวลา 114 วัน  ที่องค์กรสามารถที่จะได้รับการเพิ่มขึ้นของความสามารถในการผลิตภายในองค์กร
           
          (2).เพิ่มรายได้ให้กับองค์กร
          โดยการที่องค์กรจะมีรายได้เพิ่มขึ้นก็จะเพิ่มจำนวนลูกค้าให้เพิ่มมากขึ้น ก็สามารถที่จะเพิ่มรายได้ขององค์กรในแต่ละสถานที่ได้

          (3).ลดการอออกจากองค์กรของพนักงานลง
          ซึ่งการลดลงของการออกจากองค์กรของพนักงานนั้น  ก็จะทำให้องค์กรนั้นสามารถที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายในการออกของพนักงานได้  ทำให้ลดค่าใช่จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปได้
           
            ซึ่งผมสามารถสรุปได้ว่า  การวางแผนกำลังคนนั้นก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆอีกมากมาย  นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาข้างต้น  เพราะฉะนั้นหากองค์กรได้ต้องการประสบความสำเร็จในการจัดการกำลังคน  ก็จะต้องมีการวางแผน  การจัดกำลังคนให้ถูกที่ ถูกเวลา  ถูกหน้าที่  เพื่อที่จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดกับองค์กรนั่นเอง 


Job Analysis Dimensions

What are major activities?
            ประกอบธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวกับข้าวสารแบรนด์ต่างๆ แป้งทำขนมต่างๆ ของชำหรือของใช้สอยภายในบ้านเรือน

What are the job incumbent's responsibilities?
            -  จัดซื้อสินค้าต่างๆเข้ามาภายในร้าน
            -  จัดเตรียมรายการสินค้าตามที่ลูกค้ามี Order มา

 Who are the customers the job incumbent?
            -  แม่ค้าทำขนมในพื้นที่
            -  ลูกค้าในและนอกพื้นที่

What are outcomes and resulting values of this job?
            เพื่อให้ลูกค้าทั้งลูกค้าประจำและลูกค้าไม่ประจำประทับในการบริการของเรา  และประทับใจในสินค้าที่มีคุณภาพ สดใหม่เสมอ  และก่อให้เกิดการกลับมาซื้อซ้ำของลูกค้า

Which knowledge skills and competencies are required to do the job well?
            ต้องมีความขยันและอดทน เพราะจะต้องเปิดร้านตั้งแต่เช้า และปิดร้านในเวลาค่ำ  รวมทั้งยังต้องมีความใจเย็นกับลูกค้า  เพราะว่าลูกค้าก็มีหลายประเภท  รวมทั้งต้องมีความฉับไวในการบริการ  รักในการบริการลูกค้า  และยังต้องมีความแม่นยำในคำนวณราคาสินค้าให้กับลูกค้าอีกด้วย

Which mindset and intrinsic motivation is required to do the job well?
            ต้องมีความซื่อสัตย์  จริงใจกับลูกค้า  เมื่อลูกค้ามาซื้อสินค้าก็บริการให้ดีและก็ดีขึ้นเรื่อยๆ  ซึ่งก็จะก่อให้เกิดความประทับใจ  และกลับมาซื้อสินค้าซ้ำ  รวมทั้งก่อให้เกิดรายได้กับกิจการของเรามากอีกด้วย

Which level of authority is given to the job incumbent?
            ต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอทั้งด้านร่างกายและจิตใจ  ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการทำงานและเรื่องต่าง  และจะต้องมีความพร้อมอยู่เสมอๆ

Which physical abilities are required?
            จะต้องมีความอดทน  และมีร่างกายที่แข็งแรงที่จะต้องยกหรือแบกสินค้าให้กับลูกค้า  เพราะสินค้าบางอย่างจะมีน้ำหนักมาก อย่างเช่น  ข้าวสาร แป้งทำขนมต่างๆ  เป็นต้น

What are specialty working conditions?
            ต้องมีความซื่อสัตย์กับลูกค้า  มีความขยัน  มีความอดทน  มีวินัยต่อตนเอง  และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการเอาใจใส่ลูกค้า  พร้อมทั้งยังต้องมีใจรักในการที่จะบริการลูกค้าอีกด้วย

What is the daily working environment?
            เป็นการทำงานที่จะต้องตื่นตั้งแต่เช้ามืดเพื่อให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า  รวมทั้งในช่วงกลางวันยังจะต้องทำงานที่จะต้องสัมผัสกับแสงแดดทำให้ต้องมีความอดทน

What are major interfaces in and outside the firm?
            มีการขยายกิจการออกไปเพื่อทำให้มีการขยับขยายสินค้าออกไปกว้างขึ้นเพื่อให้มีการบริการที่มากขึ้นเพื่อรองรับกับความต้องการของลุกค้าที่มีการเพิ่มสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา

What are appealing elements of the job?
            เป็นอาชีพที่เป็นเจ้านายตัวเอง ควบคุมตัวเอง ไม่ต้องไปเป็นลูกน้องใคร  รวมทั้งยังสร้างตนเองให้มีความรับผิดชอบในอาชีพ  ซึ่งต้องอาศัยความขยันและอดทน เพราะว่าจะต้องเปิดร้านทุกๆวันไม่มีวันหยุดเหมือนกับอาชีพอื่นๆ แต่ก็ทำให้ตนเองมีความขยันและตั้งใจที่จะประกอบอาชีพนี้ต่อไป

What are the downsides of the job?
            การส่งสินค้า  รวมทั้งการรับสินค้าเข้ามาอาจจะมีความล่าช้าทำให้เกิดความล่าในการส่งสินค้าให้กับลูกค้า  รวมทั้งราคาสินค้าในตลาดปัจจุบันนี้มีการปรับตัวสูงขึ้นแทบทุกรายการทำให้ต้องมีเงินทุนในการประกอบกิจการที่สูงขึ้นตามไปด้วย

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

องค์กรควรมีการทำ Job Analysis หรือไม่

            การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) หมายถึง กระบวนการในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงาน ทั้งในแง่ของลักษณะงาน หน้าที่ ความรับผิดชอบ ชนิดของบุคคล ความรู้ ความสามารถ และทักษะที่ต้องการสำหรับงานเพื่อให้การปฏิบัติงานนั้นๆ บรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยจะออกมาในรูปของการบรรยายลักษณะงาน job descriptions และการกำหนดคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงาน job specifications
            การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) จึงเป็นปัจจัย ที่สำคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสามารถนำไปใช้ในกระบวนการบริหาร และการแก้ปัญหางานซึ่งเป็นการค้นคว้า หารายละเอียดของงานแต่ละตำแหน่ง
            ดังนั้นผมจึงคิดว่าองค์กรควรมีการทำ Job Analysis เพราะว่าการที่องค์กรใดๆก็ตามที่ได้มีการวิเคราะห์งานแล้วนั้น จะก่อให้เกิดประโยชน์กับการวางแผนในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการวางแผนพนักงาน เพื่อที่จะให้พนักงานแต่ละคนนั้นได้ทำงานตามความสามารถของตนเอง และวางตำแหน่งให้เหมาะสมกับความสามารถของพนักงานในแต่ละคน รวมทั้งยังเป็นหน้าที่พื้นฐานสำหรับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับนำไปใช้ในกระบวนการบริหารและการแก้ปัญหางาน รวมทั้งยังก่อให้เกิดประโยชน์ในการที่องค์กรจะฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน  การวางแผนจัดกำลังพลในแต่ละงาน  รวมไปถึงการจัดทำการวิเคราะห์สำหรับการทำงานเป็นทีม  ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้  องค์กรควรที่จะให้ความสำคัญในการจัดทำการวิเคราะห์งานเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับพนักงานและตัวองค์กรเอง

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

What did I really learn on 14 January 2012?

           ในการเรียนในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2555 นี้ ได้ความรู้ใหม่ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ Competency , Workforce Planning , Talent Relationship Management , Job Analysis , Succession Management ซึ่งหัวข้อทั้งหมดนั้นเราสามารถที่จะนำความรู้ใหม่นี้  ไปประยุกต์ใช้กับการทำงานของเราได้อย่างดี ซึ่งผมจะแบ่งความรู้ที่ได้ออกเป็นหัวข้อตามหัวข้อข้างต้น
           
          Competency
         เป็นบุคลิกลักษณะที่ซ่อนอยู่ภายในจิตใจของคนเรา  ที่สามารถผลักดันให้บุคคลนั้น สร้างผลการปฏิบัติงานที่ดีที่สุดในงานที่ตนรับผิดชอบ  การที่บุคคลมีเพียงความฉลาดในการเรียนรู้ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เขาเป็นผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานที่โดดเด่นแต่จำเป็นต้องมีแรงผลักดันเบื้องลึก คุณลักษณะส่วนบุคคล  แนวคิดในตนเองและการแสดงออกที่เหมาะสมจะทำให้เขาเป็นผู้ที่มีผลงานโดดเด่น   โดยขีดความสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
           
       (1).ความสามารถหลัก (Core Competency) คือ บุคลิกลักษณะการแสดงออกของพฤติกรรมของพนักงานทุกคนในองค์การที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) ทัศนคติ (Attributes) ซึ่งมีความสำคัญในการที่จะปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จและมีความโดดเด่นกว่าคนอื่นๆ


           
       ความสามารถหลัก (Core Competency) คือ กิจกรรมใดๆก็ตามที่สามารถนำทรัพยากรอันมีค่าขององค์กรมาสร้างประโยชน์ได้สูงกว่ากิจกรรมอื่นๆที่อยู่ในองค์กรเดียวกันในเชิงเปรียบเทียบ หรือกิจกรรมภายในใดๆก็ตามที่มีความสามารถแข่งขันมากกว่ากิจกรรมอื่นๆ ที่อยู่ในองค์กรเดียวกัน เช่น บริษัทหนึ่งมีกิจกรรมหลายอย่างแต่เมื่อเปรียบเทียบแล้ว กิจกรรมที่มีความโดดเด่นกว่ากิจกรรมอื่น คือ การจัดส่งสินค้าหรือการกระจายสินค้า ดังนั้น ความสามารถหลักขององค์กร (Core Competency) คือ การจัดส่งสินค้านั่นเอง    
            (2).ความสามารถด้านการบริหาร (Managerial Competency) คือ ความรู้ ความสามารถด้านการบริหารจัดการ เป็นขีดความสามารถทีมีได้ทั้งในระดับผู้บริหารและระดับพนักงานโดยจะแตกต่างกันตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ  ซึ่งบุคลากรในองค์กรทุกคนจำเป็นต้องมีในการทำงานเพื่อให้งานสำเร็จ  และต้องสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์  วิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์การ เช่น การวางแผน การบริหารการเปลี่ยนแปลง ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจของการไฟฟ้านครหลวง การคำนึงถึงต้นทุน  การทำงานเป็นทีม การติดต่อสื่อสาร การแก้ปัญหาและตัดสินใจ ภาวะผู้นำ ความคิดสร้างสรรค์ การเสริมสร้างนวัตกรมใหม่  เป็นต้น
            (3).ความสามารถตามตำแหน่งงาน (Functional Competency) คือ ความรู้ ความสามารถในงานซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะและคุณลักษณะเฉพาะของงานต่าง ๆ  เช่น ตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้า ควรต้องมีความรู้ทางด้านวิศวกรรม  นักบัญชี ควรต้องมีความรู้ทางด้านการบัญชี เป็นต้น
            อาจกล่าวได้ว่าขีดความสามารถชนิดเป็นขีดความสามารถเฉพาะบุคคลซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ พฤติกรรม และคุณลักษณะของบุคคลที่เกิดขึ้นจริงตามหน้าที่หรืองานที่รับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย แม้ว่าหน้าที่งานเหมือนกัน ไม่จำเป็นว่าคนที่ปฏิบัติงานในหน้าที่นั้นจะต้องมีความสามารถเหมือนกัน


            Job Analysis
Job Position (ตำแหน่งงาน) 
หมายถึง  การกำหนดของงานและพนักงานในองค์กรให้ได้ตำแหน่งงาน  รูปแบบที่เป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์การชดเชยตามที่กำหนดระดับของงานในองค์กรตัวอย่าง  เช่น  พนักงานระดับบริหารจะได้รับค่าจ้างสูงกว่าพนักงานที่ไม่ใช่ผู้บริหาร ผลประโยชน์ที่ไม่ใช่การเงินให้แก่สองระดับที่แตกต่างกันในองค์กรที่ยังแตกต่างกัน
            
          Job Description (รายละเอียดงาน) 
            หมายถึง  ความต้องการขององค์กรที่จะมองหาตำแหน่งงานที่เฉพาะเจาะจง  นอกจากนี้ยังอธิบายถึงบทบาทและความรับผิดชอบที่แนบมากับตำแหน่งงาน บทบาทและความรับผิดชอบเป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัยในการประเมินระดับของประสบการณ์การศึกษาทักษะ ฯลฯ จำเป็นสำหรับงาน นอกจากนี้ยังช่วยในการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานที่มาตรฐานงาน
            Job Worth
            หมายถึง  การประเมินความคุ้มค่านั่นคืองานเท่าใดงานที่ก่อให้เกิดองค์กรที่เป็นที่รู้จักกันว่าการประเมินผลงาน รายละเอียดงานใช้ในการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของงาน เป็นที่รู้จักกันว่าการประเมินผลงาน บทบาทและความรับผิดชอบจะช่วยในการกำหนดผลลัพธ์ที่ได้จากรายละเอียดของงาน      
          การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) หมายถึง กระบวนการในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงาน ทั้งในแง่ของลักษณะงาน หน้าที่ ความรับผิดชอบ ชนิดของบุคคล ความรู้ ความสามารถ และทักษะที่ต้องการสำหรับงานเพื่อให้การปฏิบัติงานนั้นๆ บรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยจะออกมาในรูปของการบรรยายลักษณะงาน job descriptions และการกำหนดคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงาน job specifications
           ความสำคัญของการวิเคราะห์งาน
               (1). การวิเคราะห์งานเป็นหน้าที่พื้นฐานสำหรับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับนำไปใช้ในกระบวนการบริหารและการแก้ปัญหางาน พนักงานแต่ละคนจะต้องทราบว่าหน่วยงานที่ตนสังกัดมีภารกิจและขอบเขตอย่างไร จะต้องทราบว่าตนเองมีหน้าที่การงานอย่างไร เพื่อปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน
               (2). การวิเคราะห์งานทำให้ผู้ดำรงตำแหน่งและผู้บังคับบัญชารู้ชัดในหน้าที่ที่มอบหมายให้ทำ เป็นเครื่องมือช่วยในการควบคุมงานให้บรรลุผลสำเร็จและช่วยประสานงานให้ดำเนินไปได้ด้วยดี


            Workforce Planning
            การวางแผนกำลังคน คือ การวางกลยุทธ์ด้านกำลังคนให้สอดคล้องกับทิศทางธุรกิจขององค์กร โดยการวิเคราะห์สภาพกำลังคนขององค์กรที่มีอยู่ในปัจจุบัน เปรียบเทียบกับความต้องการกำลังคนในอนาคตว่ามีส่วนต่างของความต้องการอย่างไร เพื่อที่จะพัฒนาหรือวางแผนดำเนินการให้องค์กรบรรลุภารกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่วางไว้

 

“Having the right people with the
right skills doing the right jobs at the right time”







          ความสำคัญและประโยชน์ของการวางแผนกำลังคน
            (1). เพื่อที่จะใช้กำลังคนให้สอดคล้องกับภารกิจเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด
            (2). เพื่อที่จะเตรียมกำลังคนทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลาในอนาคต
            (3). เป็นเครื่องมือที่จะช่วยในการตัดสินใจในการบริหารทรัพยากรบุคคล
            (4). ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้สูงสุด (right people, right skills, right jobs, right time)
            (5). สร้างความเชื่อมโยงระหว่างการจัดการทรัพยากรบุคคล และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของหน่วยงาน
          (6). ช่วยให้หน่วยงานสามารถจัดจำนวน ประเภท และระดับทักษะของกำลังคนให้เหมาะสมกับงานในระยะเวลาที่เหมาะสม
          (7).ทำให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ



             Talent Relationship Management
             Talent หมายถึงบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ มีผลงานที่โดดเด่นเหนือบุคคลอื่น
ซึ่งอาจมีลักษณะที่  แตกต่างกันไปในแต่ละองค์กร โดยขึ้นอยู่กับลักษณะงาน  ลักษณะธุรกิจนโยบาย  วัฒนธรรมองค์กร และกลยุทธ์ขององค์กรว่าต้องการเดินไปในทิศทางใด
            ลักษณะทั่วไปของ Talent หรือมีศักยภาพสูง คือ
            1. มีความสามารถ และมีคุณสมบัติในการนำตัวเองไปสู่ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น
            2. สามารถแก้ปัญหาได้ดี วางแผนป้องกันปัญหาได้
            3. เรียนรู้ได้รวดเร็ว
            4. มีความกระตือรือร้น
            5. มีความคิดสร้างสรรค์
            6. มีความเป็นผู้นำ
            7. มีวิสัยทัศน์
            8. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ทั้งภายในได้แก่ เพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา
            รวมถึงการประสานงานกับภายนอก ได้แก่ ลูกค้า คู่ค้า เป็นต้นความสามารถของบุคคลเหล่านี้ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร และบุคคลเหล่นี้จะถูกคาดหวังให้เป็นผู้นำ หรือผู้บริหารระดับสูงขององค์กรในอนาคตการจัดการกับคนเหล่านี้ถือเป็นส่วนสำคัญในการจัดการทุนมนุษย์ (Human Capital Management) ซึ่งเป็นการรักษาประสิทธิภาพขององค์กร   ลดอัตราสูญเสียบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์ และยังนำมาซึ่งความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน
           
          กระบวนการจัดการ Talent
            1. การสรรหา Talent
            2. การคัดเลือกหรือระบุ Talent ขององค์กร
            3. การพัฒนา Talent
            4. การบริหารและจูงใจ Talent
            5. การรักษาคนเก่งไว้ในองค์กร
           
            การสรรหา Talent
            ในกระบวนการสรรหา Talent นั้น ถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งจนบางบริษัทเช่น Microsoft ต้องตั้งทีมสรรหา Talent ไว้เป็นการเฉพาะเพื่อเพิ่มศักยภาพของการแข่งขัน  โดยการไปสัมภาษณ์และรับนักศึกษา ในมหาวิทยาลัยที่กำลังใกล้จบ ในการสรรหาคนเก่งนั้น  มีขั้นตอนดังนี้
            1. กำหนดคุณสมบัติของบุคคลที่องค์กรอยากได้
            2. กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่อยากได้
            3. หาแหล่งเป้าหมายที่จะเข้าถึงคนเหล่านี้

          การพัฒนา Talent
            เมื่อระบุได้แล้วว่าใครคือ Talent กระบวนการถัดมาคือ การส่งเสริมคนเก่งให้เป็นคนเก่งยิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของตัวคนเก่งเอง และองค์กรโดยรูปแบบการพัฒนาคนเก่งก็เหมือนกับการพัฒนาบุคคลทั่วไปในองค์กร คือ
            1. Training need survey โดยดูจากความต้องการของหน่วยงานและความต้องการของบุคคล
            2. On the job training โดยกำหนดขีดความต้องการของบุคคลที่มาปฏิบัติในหน้าที่ของหน่วยงาน และกำหนดกระบวนการวัดผล ไม่ว่าจะในรูปแบบข้อเขียน หรือ ปฏิบัติ
            3. Off the job training หรือการอบรมนอกงาน ไม่ว่าจะเป็นการเข้ารับการอบรมพิเศษ Special training หรือการใช้สถานการณ์จำลองและกรณีศึกษา
           
          การบริหารและจูงใจ Talent
            สิ่งที่ผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 3 ส่วน ได้แก่
            1. ภาพลักษณ์บริษัทที่ดี
            2. ลักษณะงานที่ดี
            3. ค่าตอบแทนและรูปแบบการดำเนินชีวิต

          การรักษา Talent ไว้ในองค์กร
            ต้องเปลี่ยนจากการพยายามเก็บเอาไว้อย่างเดียวมาเป็นการควบคุมทิศทาง ด้วยความยืดหยุ่นสูงเพื่อเปิดโอกาสให้เขาใช้ศักยภาพให้เกิดผลกับองค์กรให้มากที่สุด

            การกำหนกกระบวนการการจัดการความสามารถ
            องค์กรที่มีการสร้างขึ้นจากคนคนสร้างมูลค่าผ่านกระบวนการทางธุรกิจที่พิสูจน์นวัตกรรมการบริการลูกค้า, การขาย, และอีกหลายกิจกรรมที่สำคัญอื่น ๆ ในฐานะที่เป็นองค์กรที่มุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจของมันก็ต้องให้แน่ใจว่ามันมีกระบวนการที่ต่อเนื่องและบูรณาการเพื่อการสรรหาการฝึกอบรมการจัดการสนับสนุนและชดเชยคนเหล่านี้ แผนภูมิต่อไปนี้จะแสดงกระบวนการเสร็จสมบูรณ์ 
            (1). การวางแผนกำลังคน   แบบบูรณาการกับแผนธุรกิจของกระบวนการนี้กำหนดแผนการทำงานและแผนการจ้างงาน, การชดเชยงบประมาณและเป้าหมายการจ้างงานสำหรับปี
            (2). การสรรหา ผ่านกระบวนการบูรณาการจากการสรรหาการประเมินการประเมินผลและการจ้างงานทางธุรกิจที่ทำให้คนในองค์กร
            (3). Onboarding องค์กรจะต้องฝึกอบรมและช่วยให้พนักงานที่จะกลายเป็น Talent อย่างมีประสิทธิภาพ
            (4). Performance Management การบริหารจัดการประสิทธิภาพการทำงาน โดยใช้แผนธุรกิจองค์กรกำหนดกระบวนการในการวัดและจัดการพนักงาน 
            (5). Training & Performance Support การฝึกอบรมและการสนับสนุนประสิทธิภาพการทำงาน 
            (6). Succession Planning การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง การวางแผนการสืบทอดการทำงานที่สำคัญมากช่วยให้ผู้จัดการและบุคคลที่จะระบุตัวตนของผู้สมัครที่เหมาะสมสำหรับตำแหน่ง 
            (7). Compensation & Benefits ค่าตอบแทนและประโยชน์ที่ได้รับ   
            (8). Critical Skills Gap Analysis ที่สำคัญการวิเคราะห์ Gap ทักษะการ นี้เป็นกระบวนการที่เราระบุเป็นสำคัญการทำงานมักจะมองข้ามในหลายอุตสาหกรรมและองค์กรต่างๆ ในขณะที่มักจะทำบนพื้นฐานของโครงการที่จะสามารถ"ทางธุรกิจที่สำคัญ

            Succession Planning
                การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง  หมายถึง การเฟ้นหาบุคคลภายในองค์กรที่เป็น ดาวเด่น” (Talent) ที่สามารถสร้างผลงานที่ ดีเลิศตามที่ องค์กรคาดหวัง เพื่อให้ดำรงตำแหน่งหนึ่งๆ ทันทีที่ตำแหน่งนั้นๆ ว่างลง โดยทั่วไปองค์กรจะเตรียมดาวเด่นจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คนไว้สำหรับรองรับหนึ่งตำแหน่งโดย ดาวเด่นดังกล่าวมีความเหมาะสมทั้งในด้านวัยวุฒิและคุณวุฒิ  รวมทั้งมีความพร้อมที่จะดำรงตำแหน่งหนึ่งๆ ที่ว่างลงในทันทีตามที่องค์กรกำหนด อย่างไรก็ตาม ในที่ สุดองค์กรจะคัดเลือกทายาทให้เหลือเพียง 1 คน ด้วยเกณฑ์การ คัดเลือกขององค์กร เพื่อให้ผู้ที่ พร้อมและเหมาะสมมากที่ สุดเป็นผู้สืบทอดตำแหน่ง (Successor) ซึ่งถือเป็นการมอบหมายงานที่สำคัญขององค์กรให้แก่ผู้ที่เหมาะสมในเวลาอันควร (Put the right person on the right job at the right time) เพื่อให้งานในความรับผิดชอบของตำแหน่ง ดังกล่าวมีความต่อเนื่อง โดยไม่เกิดการสะดุดไม่ว่ากรณีใดๆ

            
             การคัดเลือกว่าที่ผู้สืบทอดตำแหน่ง (Candidate) เพื่อมาเข้าร่วมในโครงการพัฒนาผู้สืบทอดตำแหน่ง (Successor Development Project) นั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าการคัดเลือกบุคลากรเข้ามาทำงานในองค์กร เพราะความผิดพลาดของการคัดเลือกคนนอกเข้ามาทำงานเรายังมีช่วงทดลองงานเพื่อให้ตัดสินใจดูว่าจะจ้างเขาต่อไปหรือไม่ แต่การคัดเลือกคนในนี้ ถ้าคัดเลือกมาผิดเมื่อไหร่ เราไม่สามารถบอกเลิกเขากลางทางระหว่างดำเนินโครงการได้ ดังนั้น จึงอยากจะให้องค์กรต่างๆให้ความสำคัญกับกระบวนการในการคัดเลือกว่าที่ผู้สืบทอดตำแหน่งให้มากยิ่งขึ้น จะได้ไม่เสียใจและเสียดายในภายหลัง
           
             ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดนั้นผมคิดว่าจะมีประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน  ในการบริหารงาน  ซึ่งในปัจจุบันมีสภาวะการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบของการทำงาน  การบริหารงานที่เปลี่ยนแปลงไป  ซึ่งนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เราได้เข้าใจรูปแบบและวิธีการในการปรับปรุงการทำงาน  และสภาวะการบริหารงานของผู้บริหารในแต่ละองค์กร  เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์กร  และการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารของพนักงานในองค์กร  เพื่อที่จะหาจุดสมดุลที่สุดของการทำงานนั่นเอง